เมนู

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ผู้มีธรรมอันกำหนดรู้แล้ว
เป็นเสกขะมีอยู่มากในโลกนี้. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.
จบคาถาที่ 6

คาถาที่ 7


37 ) สีโหว สทฺเทสุ อสนฺตสนฺโต
วาโตว ชาลมฺหิ อสชฺชมาโน
ปทุมํว โตเยน อลิมฺปมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ไม่สะดุ้งในเพราะเสียง
เหมือนสีหะ ไม่ติดข้อง เหมือนลมไม่ติดข้องที่ตาข่าย
เหมือนดอกบัว ไม่ติดข้องด้วยน้ำฉะนั้น พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 7 ดังต่อไปนี้.
บทว่า สีโห ได้แก่ สีหะ 4 จำพวก คือติณสีหะ 1 ปัณฑุสีหะ 1
กาฬสีหะ 1 ไกรสรสีหะ 1. ไกรสรสีหะท่านกล่าวว่าเลิศกว่าสีหะเหล่านั้น
ในที่นี้ท่านประสงค์เอาไกรสรสีหะนั้น.
ลมมีหลายชนิด มีลมพัดมาทางทิศตะวันออกเป็นต้น. ดอกบัวมี
หลายชนิด มีดอกบัวสีแดงและดอกบัวสีขาวเป็นต้น. บรรดาลมและดอกบัว
เหล่านั้น ลมชนิดใดชนิดหนึ่ง ดอกบัวชนิดใดชนิดหนึ่ง ควรทั้งนั้น.
เพราะความสะดุ้งย่อมมีด้วยความรักตน. อนึ่ง ความรักตนฉาบด้วยตัณหา.

แม้ความรักตนนั้นก็ย่อมมีด้วยความโลภ อันสัมปยุตด้วยทิฏฐิ. หรือวิปปยุต
ด้วยทิฏฐิ. ความรักตนนั้นก็คือตัณหานั้นเอง. ความข้องของผู้ปราศจาก
ความสอบสวนย่อมมีด้วยโมหะ อนึ่ง โมหะก็คืออวิชชา. การละตัณหาย่อม
มีด้วยสมถะ. การละอวิชชาย่อมมีด้วยวิปัสสนา. เพราะฉะนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้าละความรักในคนด้วยสมถะ ไม่สะดุ้งในความไม่เที่ยงและความ
เป็นทุกข์เป็นต้น เหมือนสีหะไม่สะดุ้งในเพราะเสียงทั้งหลาย ละโมหะ
ด้วยวิปัสสนา ไม่ติดในขันธ์และอายตนะเป็นต้น ดุจลมไม่ติในข่าย
ละโลภะและทิฏฐิอันสัมปยุตด้วยโลภะ ด้วยสมถะ ไม่ติดด้วยโลภะอันมี
ความยินดีในภพทั้งปวง เหมือนดอกบัวไม่ติดด้วยน้ำฉะนั้น. ในบทนี้ศีล
เป็นปทัฏฐานแห่งสมถะ สมถะเป็นปทัฏฐานแห่งสมาธิ วิปัสสนา และ
ปัญญา ด้วยประการฉะนี้. เมื่อธรรมสองเหล่านั้นสำเร็จ เป็นอันขันธ์
แม้ 3 ก็สำเร็จด้วย. ในขันธ์เหล่านั้น ความเป็นผู้กล้าย่อมสำเร็จด้วยศีล
ขันธ์. ย่อมไม่สะดุ้งเพราะความเป็นผู้ใคร่จะโกรธในอาฆาตวัตถุทั้งหลาย
เหมือนสีหะไม่สะดุ้งในเพราะเสียงทั้งหลาย. เป็นผู้มีสภาวะแทงตลอดด้วย
ปัญญาขันธ์ ไม่ติดอยู่ในประเภทแห่งธรรมมีขันธ์เป็นต้น ดุจลมไม่ติด
ในข่าย. เป็นผู้ปราศจากราคะด้วยสมาธิขันธ์ ไม่ติดอยู่ด้วยราคะเหมือน
ดอกบัวไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ. พึงทราบว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่สะดุ้ง
ไม่ข้อง ไม่ติดด้วยการละอวิชชาตัณหาและอกุศลมูล 3 ตามที่เกิดด้วย
สมถะและวิปัสสนา และด้วยศีลขันธ์ สมาธิขันธ์และปัญญาขันธ์ ด้วย
ประการฉะนี้.
จบคาถาที่ 7

คาถาที่ 8


38) สีโห ยถา ทาฐพลี ปสยฺห
ราชา มิคานํ อภิภุยฺยจารี
เสเวถ ปนฺตานิ เสนาสนานิ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า พึงเสพเสนาสนะอันสงัด
เป็นผู้เที่ยวไปผู้เดียว เช่นกับนอแรด เหมือนราชสีห์มี
เขี้ยวเป็นกำลัง ข่มขี่ครอบงำหมู่เนื้อเที่ยวไปฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 8 ดังต่อไปนี้.
ชื่อว่า สีหะ เพราะอดทน เพราะฆ่าและวิ่งเร็ว. ในที่นี้ประสงค์
เอาไกรสรสีหะ. ชื่อว่า ทาฐพลี เพราะสีหะมีเขี้ยวเป็นกำลัง. บททั้งสอง
คือ ปสยฺห อภิภุยฺห พึงประกอบ จารี ศัพท์เข้าไป เป็น ปสยฺหจารี
เที่ยวข่มขี่ อภิภุยฺยจารี เที่ยวครอบงำ. ในสองบทนั้น ชื่อว่า ปสยฺหจารี
เพราะเที่ยวข่มขี่. ชื่อว่า อภิภุยฺยจารี เพราะเที่ยวครอบงำทำให้หวาด
สะดุ้ง ทำให้อยู่ในอำนาจ. สีหะนั้นเที่ยวข่มขี่ด้วยกำลังกาย เที่ยวครอบงำ
ด้วยเดช. หากใคร ๆ พึงกล่าวว่าเที่ยวข่มขี่ครอบงำอะไร. แต่นั้นพึงทำ
ฉัฏฐีวิภัตติแห่งบทว่า มิคานํ เป็นทุติยาวิภัตติ เปลี่ยนเป็น มิเค ปสยฺห
อภิภุยฺหจารี
เที่ยวข่มขี่ครอบงำซึ่งเนื้อทั้งหลาย. บทว่า ปนฺตานิ
อันสงัด คือไกล. บทว่า เสนาสนานิ คือ ที่อยู่. บทที่เหลือสามารถ
จะรู้ได้โดยนัยดังกล่าวในก่อน เพราะเหตุนั้นจึงไม่กล่าวให้พิสดาร.
จบคาถาที่ 8